วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย วัยชรา (อายุ 60 ปีขึ้นไป)
วัยชราหรือวัยผู้สูงอายุเป็นช่วงสุดท้ายของวัยผู้ใหญ่ เริ่มประมาณอายุ 60 ปีขึ้นไปจนถึงสิ้นชีวิต ทั้งนี้ความชราจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการชราภาพเร็ว อายุสั้น หรืออายุยืนเป็นต้นวัยนี้จะมีร่างกายและจิตใจเสื่อมลงอย่างรวดเร็วแต่แนวโน้มของคนในปัจจุบันนี้จะมีอายุยืนยาวกว่าสมัยก่อนเพราะวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะการแพทย์เจริญก้าวหน้ามากช่วยส่งเสริมป้องกันรักษาชีวิตมนุษย์ให้ยืนยาวเป็นที่น่าสังเกตว่าในบรรดาคนชราทั่วๆไปมีจำนวนผู้หญิงมากว่าผู้ชายแม้ว่าอัตราส่วนระหว่างเพศเมื่อเกิดนั้นจะเป็นชายมากว่าหญิง หรือถ้ามีทารกเกิดเป็นเพศหญิง 100 คน ก็จะมีเพศชาย 106 คน ชายมีจำนวนมากกว่าหญิงเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปจนอายุ 30 ปี แต่เมื่ออายุมากขึ้นกว่านี้ ชายจะตายมากกว่าหญิง ดังนั้นผู้หญิงจึงมีอายุยืนยาวกว่าผู้ชาย
ความสำคัญของการออกกำลังกายในวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะระบบหัวใจและหายใจ ช่วยชะลอความเสื่อมของระบบต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย ปรับระบบการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้มีความสมดุล
นอกจากความแข็งแรงแล้ว การออกกำลังในผู้สูงอายุ ในบางครั้งยังช่วยให้ผู้สูงอายุได้เข้าสังคม พบปะผู้คนในกรณีที่ออกกำลังกายนอกบ้าน นับว่าเป็นผลดีต่อสภาพจิตใจโดยตรง เรียกได้ว่าให้ประโยชน์ หลากหลาย
วัยผู้ใหญ่ตอนปลายเหมาะกับกิจกรรมที่ใช้ร่างกายในเคลื่อนไหวได้ง่าย ดูราบรื่น และผ่อนคลายแบบสบายๆ ไม่มีการเปลี่ยนจังหวะกะทันหัน เช่น ไทเก๊ก โยคะ ชี่กง ลีลาศ และไม่ควรออกกำลังกายนานเกินไปควรกำหนดระยะเวลาออกกำลังการให้เหมาะสมกับร่างการที่เรารับไหว กีฬาที่เหมาะ ควรเป็นกิจกรรมเบา ๆ ไม่มีการปะทะ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างราบรื่น ไม่มีเปลี่ยนจังหวะหรือทิศทางกะทันหัน เช่น เดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ไทเก็ก โยคะ พีลาทิส เต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำ( low impact) เป็นต้น ข้อควรระวัง โรคประจำตัวต่าง ๆ รวมถึงความหนักและระยะเวลาที่ออกกำลังกาย ไม่ควรหนักหรือนานเกินไป
การออกกำลังกายในวัยผู้ใหญ่ตอนปลายด้วยบาสโลป
บัดสลบ หรือบาสะโล๊ฟ บัดสลบ หรือบาสะโล๊ฟ
ช่วยลดเส้นรอบเอวของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ผู้สูงอายุสามารถเต้นได้ ทำให้สุขภาพทางด้านร่างกาย และทางจิตดีขึ้น มีงานอดิเรกที่มีคุณภาพทำ ช่วยย่อยอาหารได้ดี สร้างความสนุกสนานเป็นหมู่คณะ เต้นได้ทั้งชายและหญิง กำลังได้รับความนิยมทางภาคอีสานของประเทศไทย โดยเฉพาะ จังหวัดหนองคาย เป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมที่ดีงาม
แดดอ่อนๆ ตอนเช้า ช่วยให้หัวใจแข็งแรง
แม้แสงแดดจะดูเหมือนศัตรูร้ายสำหรับผิวสวย แต่รู้ไหมว่า การออกมารับแสงแดดอ่อนๆ ในตอนเช้า หรือก่อนเวลา 10.00 น. แสงแดดจะช่วยกระตุ้นการผลิตโปรตีนในสมองชื่อ พีเรียด 2 (Period 2) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้หัวใจเกิดการเผาผลาญพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น จึงมีผลในการลดความเสี่ยงจากภาวะหัวใจวายได้
ทั้งนี้ เป็นเพราะภาวะหัวใจวาย เกิดจากการที่หัวใจได้รับออกซิเจนน้อยเกินไป ทำให้หัวใจต้องดึงกลูโคสมาใช้ในการเผาผลาญพลังงานแทนไขมัน แต่โปรตีนพีเรียด 2 นี้ จะเข้าไปเปลี่ยนพลังงานจากไขมันเป็นกลูโคส จึงช่วยให้กระบวนการเผาผลาญที่หัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น
แสงแดดอ่อนๆ ในตอนเช้า มหัศจรรย์อย่างนี้ หากใครที่ตื่นมารับแสงแดดสักวันละ 30 นาที ก็รับรองได้ว่า นอกจากความจำจะดี มีความสุขแล้ว หัวใจก็แข็งแรงไปด้วยแน่นอน
ขอบคุณข้อมูลจาก: วิริยา บุญม่วง. “All about the SUN แสงแดดป้องกันโรค,” ใน ชีวจิต. 15(348): เมษายน, 2556.
เมื่อพูดถึง การเต้นบาสโลบ หรือ Paslop เพื่อสุขภาพ ตอนนี้ถือว่านิยมกันมากในผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย การเต้นชนิดนี้ได้รับความนิยมจากประเทศลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งเศส ซึ่งนิยมเต้นในงานเลี้ยงสังสรรค์ งานเลี้ยงรับรอง ในงานพิธีสำคัญต่าง ๆ
ด้วยเอกลักษณ์ที่สวยงามของลาวการแต่งกายด้วยผ้าซิ่นซึ่งนับได้ว่าเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติลาว ผ้าซิ่นทอสีสันสวยงาม มีการตกแต่งด้วยไหมสีต่าง ๆ ที่ลงตัวกัน แต่งกันในงานต่าง ๆ หรือ แต่งเป็นแฟชั่นของประเทศเลยก็ว่าได้ ด้วยวัฒนธรรมของคนลาว การเต้นประกอบเพลงมีหลายหลาย ส่วนบาสโลบ เป็นการเต้นตามจังหวะเพลง ด้วยท่าเต้นที่เหมือนกัน เวลาเต้นรวมกันจำนวนมาก จะเกิดความพร้อมเพรียง สวยงาม เป็นอย่างมาก
ตอนนี้คนไทยก็นิยมเต้นบาสโลบ เพื่อเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง การขยับร่างกาย ตามทำนองเพลง เป็นการออกกำลังกายทุกส่วน และมีเพลงประกอบทำให้จิตใจผ่อนคลาย อารมณ์ผ่อนคลาย ทำให้ผู้เต้นสนุก แถมได้ร่างกายที่ดีอีกด้วย
การเต้นแบบนี้ สามารถเต้นได้ทุกเพศ ทุกวัน ซึ่งทุกวันนี้เวลามีการแข่งขันกีฬา จะมีการแข่งขันการเต้นบาสโลบด้วย ด้วยความพร้อมเพรียง ความสามัคคี การแต่งกาย ไปประชันกันสร้างสีสัน ความสนุกสนาน และได้ร่างกาย สุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก:TukkyNattaphong.“เต้นบาสโลปสุขภาพดีด้วยตัวเอง".(ออนไลน์).แหล่งที่มา:https://cities.trueid.net/article/เต้นบาสโลบ-สุขภาพดีด้วยตัวเอง-trueidintrend_88509.[12 กุมภาพันธ์ 2564]
การออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์มากมาย และคนรุ่นใหม่ก็หันมาใส่ใจการออกกำลังกายกันมากขึ้น เพื่อให้ได้สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์และรูปร่างที่ดี แต่ในขณะที่บางคนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายเพราะเหตุผลที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ชมรมนักเพาะกาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกมาเตือนว่าหลายคนมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ดังนี้
1. การออกกำลังกายจะทำให้รับประทานอาหารมากขึ้นจะส่งผลให้อ้วนมากขึ้น ความจริง : เนื่องจากการออกกำลังกายมากก็จะเหนื่อยมาก จึงมีผลให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น คนอ้วนจึงไม่ค่อยกล้าออกกำลังกาย แต่จริงๆแล้วกลุ่มคนที่ต้องใช้แรงมาก ทำงานหนักหรือออกกำลังกายหนักมากติดต่อกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมง จะต้องรับประทานอาหารมากกว่าปกติแต่ไม่อ้วนเพราะไม่มีไขมันสะสมในร่างกาย ส่วนกลุ่มที่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพโดยทั่วไปนั้น การใช้พลังงานอยู่ในระดับปานกลาง จึงไม่ส่งผลให้รับประทานอาหารมากเกินความต้องการจนเกิดไขมันสะสมในร่างกาย
2. เมื่อเหนื่อยจากการทำงานแล้วไม่ต้องออกกำลังกายอีก ความจริง : หลายคนเชื่อว่าทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันถ้าไปออกกำลังกายอีกจะทำให้ร่างกายทรุด โทรมเร็วขึ้น เพราะแม้ร่างกายไม่เหนื่อยแต่สมองก็ล้าจากการงาน จึงไม่ไปออกกำลังกาย เรื่องนี้ถือเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะการออกกำลังกายสามารถช่วยลดความตึงเครียดได้
3. การออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและปวดเมื่อย ความจริง : อาการอ่อนเพลียหรือปวดเมื่อยตามร่างกายหลังการออกกำลังกาย มักจะเกิดกับผู้ที่เริ่มออกกำลังกายใหม่ๆ ซึ่งเป็นช่วงระยะที่ร่างกายมีการปรับตัว แต่ถ้าผ่านไปสักระยะหนึ่งอาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปและมีอาการสดชื่นกระฉับกระเฉงหลังการออกกำลังกาย แต่ก็ต้องจัดระยะเวลาและความหนักของการออกกำลังกายให้พอเหมาะกับความสามารถ ของร่างกาย
4. หายใจทางปาก เมื่อเหนื่อย ความจริง : เมื่อร่างกายมีอาการเหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกายมาค่อนข้างหนัก การหายใจทางจมูกอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่จึงใช้การหายใจทางปากช่วย ซึ่งอาจทำให้อากาศเข้าสู่ปอดโดยไม่ได้ผ่านการกรองเหมือนทางจมูก จึงทำให้รู้สึกคอแห้งและระคายเคืองที่คอ รวมถึงเสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย ดังนั้นหากต้องการหายใจทางปาก ควรทำเมื่อหายใจไม่ออกเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก:ดิชเดฉ่อ.“4ความเชื่อผิดๆกับการออกกำลังกาย".(ออนไลน์).แหล่งที่มา:https://sport.mthai.com/sport-health-fit-firm/197656.htmlMfbclid=IwAR39zYElUNJIDuQWl1ABoxxUsJL5RKFmPqTil2Zd_lBq_n-OWEzBFmTkyLY.[12 กุมภาพันธ์ 2564]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น